สรุปเล็คเชอร์พี่แก้มแหม่ม วันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๖๕

พี่แก้มแหม่มเล่าถึงศิษย์ท่านหนึ่งของพระอาจารย์ Mr. G.K. Wattal ซึ่งท่านเป็นบุคคลสำคัญระดับภาครัฐในประเทศอินเดีย เป็นผู้ดูแลท่านดาไลลามะและคณะสมัยที่ท่านอพยพหนีการรุกรานจากธิเบตในประเทศจีนมายังอินเดีย และเป็นตัวแทนรัฐบาลอินเดียช่วยสร้างเมืองธรรมศาลาให้เป็นที่พำนักของท่านดาไลลามะและคณะ Mr. Wattal ได้รับมอบหมายให้ดูแลท่านดาไลลามะ ณ ธรรมศาลาในทุก ๆ ด้าน ตั้งแต่การจัดตั้งรัฐบาลปกครองตนเอง กิจกรรมด้านการเมืองและการต่างประเทศต่าง ๆ รวมถึงการเตรียมความพร้อมเวลาจุมีนักข่าวมาขอสัมภาษณ์เป็นต้น หลังจากช่วยดูแลได้ห้าปี Mr. Wattal หน่วยงานที่ธรรมศาลาเข้าที่เข้าทางแล้วท่านก็ขอลากลับมายังอินเดีย ในครั้งนั้น องค์ดาไลลามาะทรงจัดงานเลี้ยงฉลองทั้งประเทศเพื่อขอบคุณโดยได้ทำประกาศเกียรติคุณมีเนื้อหาว่า ตั้งแต่ในอดีตถึงปัจจุบัน องค์ท่านเป็นพระบิดาของชาวธิเบตทั่วประเทศ เมื่อไรที่ชาวธิเบตได้เอาราชคืนและสามารถกลับไปธิเบตได้ ชาวธิเขตทุกคนจะใส่ล๊อคเก๊ตรูป Mr. Wattal ในฐานะ the Mother of Tibet

Mr. Wattal ท่านเป็นศิษย์ที่รักและบูชาพระอาจารย์มากหาใครเสมอเหมือนไม่ได้ ไม่ว่าพระอาจารย์จะให้ทำสิ่งใด Mr. Wattal ก็จะถวายชีวิตรับใช้ท่านเต็มที่อย่างไม่ลังเล เมื่อไม่นานมานี้เองมาพี่แก้มแหม่มเพิ่งได้ทราบมาว่า ครั้งหนึ่งตั้งแต่สมัยที่มีหน้าที่รับผิดชอบเป็นตัวแทนของรัฐบาลสมัยนายกรัฐมนตรี ชวาหะร์ลาล เนห์รูอยู่นั้น Mr. Wattal เคยมีอาการของโรคหัวใจรุนแรงมาก กลางคืนมักจะมีปัญหาในการนอนหลับ หมอต้องให้กินยานอนหลับตลอด ก็ยังไม่บรรเทา มีคืนหนึ่งด้วยความเครียดจัด Mr. Wattal ตัดสินใจกินยาเพื่อฆ่าตัวตาย จึงนำขวดยานอนหลับทุกคืน มีอยู่คืนหนึ่งในช่วงกลางดึกเธอเกิดอาการคิดมาก ด้วยกังวลว่าหากเธอเป็นอะไรไป ลูก ๆ และภรรยาจะต้องประสบปัญหาอย่างไรบ้าง เกิดความเครียดจนคิอยากจะหนีปัญหาด้วยการจบชีวิตตนเอง จึงเอาขวดยานอนหลับติดตัวไปเดินอยู่ในสวน และในที่สุดก็ตัดสินใจเทยาออกมาเป็นกำมือ ในขณะที่กำลังเอายาเข้าปากเพื่อจะทำการอัตวินิบาตกรรม ทันใดนั้นก็มีนักบุญท่านหนึ่งปรากฏตัวขึ้นท่ามกลางความมืด มาหยุดยั้งท่านด้วยการกระชากมือท่านออก แล้วนักบุญท่านนั้นก็ลอยตัวขึ้นบนอากาศ และบอกว่าอย่าทำเช่นนี้เลย เดี๋ยวท่านจะช่วยเธอเอง และก็หายไปในอากาศ ยาตกเกลื่อนลงบนพื้นหญ้า ในตอนเช้า ทุกคนในบ้าน พบว่า Mr. Wattal หายตัวไป ไม่ได้อยู่ในห้อง ภายหลังมาพบว่าท่านนอนสลบไสลอยู่บนสนามหญ้า เมื่อท่านฟื้นตื่นขึ้นมาท่านก็จำเหตุการณ์ได้เพียงเท่านี้ ท่านก็สงสัยมากว่านักบุญท่านนี้คือใคร ท่านตั้งใจว่าจะต้องหานักบุญท่านนี้ให้พบ อีกไม่กี่วันต่อมา บังเอิญน้องชายซึ่งเป็นผู้พิพากษามีเพื่อนจะชวนไปกราบนักบุญที่มาเพิ่งมาสร้างคีตาอาศรมอยู่ที่ Delhi cant. จึงมาชวนท่านไปกราบพระอาจารย์รูปนี้ด้วยกัน ทันทีที่ Mr. Wattal ได้เห็นพระอาจารย์เท่านั้น ก็ต้องประหลาดใจถึงที่สุด ว่านักบุญที่ปรกกฏตัวมาช่วยในคืนนั้นก็คือพระอาจารย์รูปนี้นั่นเอง เขาเล่าเหตุการณ์นี้ให้พระอาจารย์ฟัง ท่านก็รับฟังยิ้ม ๆ Mr. Wattal กราบเรียนท่านว่า มีผู้ใหญ่แนะนำให้ไปรักษาด้วยการผ่าตัดกับหมอท่านหนึ่งที่บังกาลอร์ พระอาจารย์บอกว่า ไม่ต้องไปหรอก หากมีศรัทธา ท่านจะรักษาให้ หลังจากนั้น Mr. Wattalและครอบครัว ก็ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในอาศรมและตั้งใจรับใช้พระอาจารย์ และรับผิดชอบดูแลกิจกรรมต่าง ๆ ของงานเผยแพร่ภควัทคีตา นอกเหนือจากงานประจำแล้ว ก็ดูแลพระอาจารย์อย่างเต็มกำลัง และมีอายุยืนยาวกว่า ๙๓ ปี พี่แก้มแหม่มเล่าว่า ตอนที่พี่แก้มแหม่มอยู่อินเดียก็ได้รับการดูแลจากครอบครัวของท่าน ในครั้งหนึ่ง มีคนนำแหวนทองมาถวายพระอาจารย์ ท่านก็ทำพิธีประกาศโดยให้ Mr. Wattal นำแหวานมาใส่ให้พี่แก้มแหม่มแล้วบอกว่า ตั้งแต่นี้ไปพี่แก้มแหม่มคือน้องสาวของเขา ขอให้ดูแลกันและกัน Mr. Wattal เป็นอีกบุคคลหนึ่งที่พี่แก้มแหม่มรักและเคารพยิ่ง

พี่แก้มแหม่มกล่าวถึงการปฏิบัติธรรมว่า สิ่งที่สอนไปนั้น ในด้านทางโลกก็แทบไม่มีอะไรที่นอกเหนือจากนี้แล้ว ที่เหลือคือการปฏิบัติ เราเกิดมาชาตินี้ก็เพื่อจาริกแสวงบุญ จุดหมายสูงสุดเพื่อการบรรลุธรรม ที่เราเห็นอยู่ทุกวันนี้เรามองเห็นสิ่งต่าง ๆ อย่างมีตัวตนตามที่พากันเก็ฯกันอยู่ ประสาทรับสัมผัสของเราถูกฝึกให้มองแล้วรับรู้ตามที่สอดคล้องกับที่ปลูกฝังเรียนรู้มา จึงทำให้เรามองโลกอย่างที่เราเห็น ณ ขณะนี้ ซึ่งความเป็นจริงของโลกในลักษณะเป็นไตรลักษณ์นั้นเราไม่ได้รับการปลูกฝังมาตั้งแต่เด็ก จึงทำให้ใจเราเจอความทุกข์มากกว่าที่ควรเป็น แต่ถึงกระนั้น ความทุกข์เป็นแรงดึงดูดให้เราแสวงหาจุดหมายสูงสุดของชีวิต ความทุกข์เป็น Blessing in Disguise ที่ทำให้เราค้นหาความหมายของชีวิตที่มากกว่าที่เราพบเห็นทุกวัน จึงพาเรามาพบเจอศาสนาไม่ว่าจะเป็นศาสนาใดก็ตาม หากส่งเสริมให้เรามีปัญญาเกิดความเข้าใจในความเป็นจริงของชีวิตได้มากขึ้น ๆ ถือเป็นทางผ่าน ในการบรรลุธรรมนั้นพระพุทธองค์และพระกฤษณะทรงเน้นปัญญาเป็นสำคัญที่สุด หรือความรู้ที่ทำให้เกิดความเข้าใจถูกต้อง ซึ่งวิธีการเข้าถึงก็มีหลายวิธี เช่น เรียนรู้เข้าใจทางกายเนื้อ หรือศึกษาทางกายทิพย์อย่างการสวดภาษาสันสกฤต ในคัมภีร์ภควัตคีตา ซึ่งเราเองนั้นเกิดมาไม่รู้กี่ชาติ ย่อมผ่านภาษานี้มาแล้วไม่น้อย ชาตินี้ในกายเนื้อเราอาจไม่เข้าใจเพราะไม่ได้เรียนมา จิตใต้สำนึกเราสามารถรับรู้ได้ จิตใต้สำนึกของเราทรงพลังมาก มีบทบาท ๙๕ % ในชีวิตประจำวันของเรา คอยฟังเสียงของเราและเป็นผู้จัดสรรให้เรา ดังนั้นคำพูดดี ๆ จึงเป็นสิ่งสำคัญ จะเห็นว่าชาวจีนเป็นรู้จักใช้ศาสตร์ NLP มาแต่โบราณกาลโดยธรรมชาติ เช่น มีวัฒนธรรมทำแต่สิ่งที่เป็นมงคล พูดแต่สิ่งที่เป็นมงคล ในวันตรุษจีน และวันมงคลสำคัญ ๆ ต่าง ๆ ในทุกวาระจะพูดแต่คำดี ๆ เพื่อให้เกิดคลื่นพลังดี ๆ
เข้าเนื้อหาธรรมะ
ภควัตคีตา แบ่งออกเป็นสามภาค แต่ละภาคมี 6 บท หกบทแรกเป็นเรื่องของกรรม หรือกรรมโยคะ
หกบทต่อมาเป็นเรื่องของภักติ การบรรลุธรรม อุทิศด้วยความรัก ความเชื่อศรัทธา
หกบทสุดท้ายเป็นเรื่องของปัญญา ญาณโยคะ

ส่วนที่ใกล้ตัวเราชาวพุทธที่สุดคือ กรรมโยคะ ส่วนของภควัตคีตาจะมุ่งสอนรอบด้าน ในส่วนของปัญญานั้นพุทธศาสนาจะสอนแนวปัญญาวิเคราะห์ละเอียดในเรื่องกรรม เพื่อการหลุดพ้นจากโลกบัญญัติเพียงอย่างเดียว ในหนทางการบรรลุสู่สัจจธรรมแห่งโลกปรมัตถ์ เพื่อไม่ให้หลงทาง แต่กว่าจะบรรลุนั้นยากมาก ซึ่งต้องอาศัยการสะสม (ตากที่จะได้ยินการบอกกล่าง อยู่บ่อย ๆ ว่าพระพุทธองค์ต้องใช้เวลาถึง 4 อสงไขยแสนกัป) หลังจากที่พี่แก้มแหม่มได้ศึกษาศาสนาต่าง ๆ ก็พอเข้าใจในภาพรวมของคำสอนต่าง ๆ พี่แก้มแหม่มเล่าถึงบทที่ ๑๒ การบรรลุธรรมด้วยทางวิทยาศาสตร์โดยมองให้เห็นโลกปรมัตถ์ ในขณะที่เราอยู่ในโลกบัญญัตินั้นเป็นไปได้ แต่ยากสำหรับคนที่ยังไม่หลุดออกจากการยึดมั่นถือมั่นที่ยังเห็นสิ่งที่ประกฏจริงเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตนเราเขา ซึ่งเป็นธรรมดาของผู้ใช้ชีวิตในโลกบัญญัติ พระกฤษณะจึงสอนอีกแนวหนึ่งโดยใช้แนวโลกบัญญัติซึ่งมีพระเจ้าเป็นตัวสมมติ โดยสัมผัสคุณสมบัติของพระเจ้าผ่านคุณลักษณ์ต่าง ๆ ของพระองค์ เช่น ให้กลับมาชื่นชมแทนการคาดหวัง โลกบัญญัติอยู่ภายใต้กฎแห่งไตรลักษณ์ เป็นไปตามเหตุปัจจัย เพียงแต่เราถูกย้ำสอนมาผิด ๆ แล้วเราไปจริงจังกับโลกบัญญัติ โดยคิดว่าเราต้องสามารถควบคุมสิ่งต่าง ๆได้ ต้องคอยมีคาดหวังสูง ความหมายที่มีค่าสูงสุดของชีวิตคือผู้ที่ต้องประสพความสำเร็จด้วยการเป็นผู้มั่งมี ดีหรือเก่งกว่าคนอื่น เป็นต้น โดยเรามองข้ามว่า โดยธรรมชาติจริงแท้นั้น ทุกอย่างในโลกบัญญัติย่อมเป็นไปตามเหตุปัจจัย ใต้กฏของไตรลักษณ์ คนยุคนี้บรรลุธรรมยากกว่าคนยุคก่อนเพราะมีสิ่งล่อใจเยอะกว่า ชวนให้หลงในอวิชชา รู้เท่าไม่ถึงการณ์ ถลำลึกไปยิ่งกว่าเก่า


เนื้อหาในภควัทคีตาเป็นส่วนหนึ่งในมหากาพย์สงครามมหาภารตะ

เริ่มต้นบทที่ ๑ อรชุนท้อใจ ซึมเศร้าสุด จิตตก หมดสภาพๆ แทบไม่อยากมีชีวิตอยู่แล้วแม้ชื่อเสียงเกียติยศก็ไร้ความหมาย
บทที่ ๒ อรชุนเปิดใจ เหมือนได้เจอจิตแพทย์ ระบายความทุกข์ท้อใจ ซึมเศร้า ที่สุดอรชุนศิโรราบต่อพระกฤษณะ พระกฤษณะจึงได้เริ่มสอนธรรม สอนว่าร่างกายเหมือภัสตราภรณ์ ที่เป็นเพียงภายนอก เมื่อเก่าเปื่อยแล้วก็ต้องเปลี่ยน ดังนั้นคนเราจึงต้องทำหน้าที่ของเราให้ดีที่สุด
บทที่ ๓ อรชุนถามธรรมะกับพระกฤษณะ โดยถามคำถามซึ่งเป็นคำถามที่อุกอาจยิ่งว่า ในเมื่อท่านแนะนำว่าความรู้เหนือกว่าการกระทำ แล้วใยท่านจึงมายุยงส่งเสริมให้เราทำสงครามด้วยเล่า ? อีกฝ่ายหนึ่งก็เป็นญาติ เป็นผู้มีพระคุณ เป็นมิตรสหาย น่าจะเป็นบาป เหตุใดพระกฤษณะจึงไม่ห้ามเรา ไม่ให้ทำสงครามนี้ (ซึ่งในความจริงก่อนที่จะมาถึงสนามรบนี้ พระกฤษณะทำทุกวิถีทางไม่ให้มาถึงจุดนี้แล้ว พยายามไม่ให้พี่น้องทั้ง ๕ ต้องทำสงครามฆ่ากัน แต่อีกฝ่ายที่เป็นฝ่ายอธรรมยืนกรานใช้กลอุบายความพาลช่อโกงกลั่นแกล้งอย่างไร้หิริโอตัปปะ แม้ฝ่ายอรชุนและพี่น้องเองก็ยอมแล้วยอมอีก ครั้งแล้วครั้งเล่าก็ไม่สามารถคลี่ยคลายปมปัญหาได้

พี่แก้มแหม่มเสริมว่า พี่น้องทั้งห้ามีลักษณะ Narcissist ไม่รักษาคำพูด ไม่มีหิริโอตตัปปะ โกงได้โกง กลั่นแกล้งทุกรูปแบบ รวมถึงการลอบสังหาร แม้ว่าอรชุนจะยอมแล้วยอมอีก พวกเขาก็เอาสีข้างเข้าถูแบบ Gas Lighting ไม่เคยยอมรับผิดใด ๆ มีแต่โทษผู้อื่น จนในที่สุดก็ต้องประกาศศึก พี่แก้มแหม่มตั้งข้อสังเกตว่า บทละครที่สำคัญของโลกมักต้องมีตัวละครที่มีความเป็น Narcissist ซึ่งใครที่ได้พบเจอก็สามารถบรรลุธรรมได้เลย

ในบทที่สามนี้หลังจากที่ได้ถามไป แล้วยังไม่ได้คำตอบ อรชุนได้ว่ากล่าวพระกฤษณะด้วยว่า ท่านน่ะพูดวกวน ยิ่งทำให้เราสับสน ช่วยกรุณาพูดให้ตรงจุดหน่อยได้ไหม จะให้เราทำอย่างไร อรชุนนั้นก็ไม่ต่างอะไรจากเรา ก็อยากบรรลุธรรมที่พึงทำได้

เมื่อพี่แก้มแหม่มย้อนพาเราไปทวนเรื่องราวในมหากาพย์สงครามมหาภารตะ ก็ได้ชี้ให้เห็นว่าภควัตคีตานั้นเป็นสิ่งมหัศจรรย์มาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องจริงหรือไม่ก็ตาม ผู้ที่ต้องการถกเถียง เหตุผลยังถกเถียงไม่สิ้นสุด ความเป็นมาเป็นอย่างไรอาจไม่สามารถยืนยันได้อย่างนักการวิทยาศาสตร์ แต่ความมหัศจรรย์ของเนื้อหานั้นสุดยอด จากที่พี่แก้มแหม่มศึกษาด้วยชีวิตตัวเอง เริ่มต้นบทที่หนึ่งมาก็เป็นเรื่องมีความไม่เข้าใจในชีวิต สับสน ท้อแท้ ไม่ต่างจากอรชุน ในครั้งนั้นพี่แก้มแหม่มเดินทางไปทั่วโลก ไปอินเดีย ได้พบเจอผู้คนหลายแบบ เกิดความระทดท้อมากมาย ได้ตัดพ้อกับพระอาจารย์ว่า เมื่ออยู่เมืองไทย ก็ว่าท้อแล้ว หนักเหนื่อยแล้ว แต่มาอินเดียกลับพบว่ายากเย็นแสนสาหัสยิ่งกว่า ถอดใจ แม้การเป็นนักบุญก็ไม่อยากเป็น จะบรรลุธรรมก็ยอม เพราะสาหัสสากรรจ์เหลือเกิน พระอาจารย์ก็บอกว่า เมื่ออยู่เมืองไทยนั้นเหมือนพี่แก้มแหม่มว่ายน้ำในสระ แต่มาอินเดียพระอาจารย์พาออกสู่มหาสมุทร สภาวะเช่นนี้คือสภาวะเดียวกับอรชุน ท้อถอย ไม่อยากอยู่แล้ว เป็นการศิโรราบต่อชีวิตใจเปิดพร้อมแก่การปฏิบัติธรรม พระอาจารย์ได้เปิดภควัตคีตาบทที่ ๓ แล้วให้อ่าน จากนั้นตามด้วยบทที่ ๘ แล้วให้อ่านโฉลกที่ ๗

Therefore, at all times remember Me and fight. With mind and intellect absorbed in Me, you shall without doubt come to:

คือทำหน้าที่ทุกอย่าง แต่ไม่ได้ทำเพื่อตัวตน ทำเพื่อจิตสูงสุด เพื่อพระเจ้า เพื่อพระพุทธเจ้า (ในรูปบัญญัติตามแต่จิตจะมีเราศรัทธา) ในโลกบัญญัติสามารถมีชื่อได้หลายศาสดา แต่ละชื่อก็เน้นไปตามคุณสมบัติ แต่ไม่ว่าจะเรียกชื่ออะไร ก็หมายถึงพลังที่อยู่เบื้องหลังการมีอยู่ของสรรพสิ่งและจักรวาล ทั้งนี้อานิสงส์ของการระลึกบูชาไม่ได้ขึ้นอยู่กับชื่อที่บัญญัติขึ้นจากอักขระต่าง ๆ แต่ขึ้นอยู่กับการระลึกรู้ที่เกิดขึ้นจากสภาวะจิตของผู้บำเพ็ญเพียร

กลับมาที่คำตอบของพระกฤษณะ

ท้าวอรชุนถามว่า :

ท่านกฤษณะ ! ก็หากท่านเห็นว่าปัญญาเป็นตัวนำสำคัญ
ในการกระทำทุกอย่างแล้ว เหตุใดท่านจึงชักนำเรา
ให้ทำสงครามอันเป็นบาปมหันต์เล่า (BG III : 1)

ถ้อยคำอันวกวนของท่าน ทำให้เราสับสน ขอจงไขความให้กระจ่างหน่อยได้ไหม
เอาให้แน่เพียงอย่างหนึ่งอย่างใดเท่านั้น (BG III : 2)
(การศึกษาธรรมะเป็นสิ่งที่กำลังพูดถึงปรมัตถธรรมโดยอาศัยภาษาและความเข้าใจของโลกบัญญัติ ดังนั้นจึงไม่ใช่ง่ายเลยที่จะตอบคำถามธรรมได้ด้วยประโยคเดียว หรือแง่มุมเดียว จะเห็นได้ว่า หลาย ๆ ครั้ง อาจารย์เซนจึงมักตอบคำถามเป็นปริศนาธรรม ให้ลูกศิษย์ต้องไปพิจารณาขบคิดต่อเอง)

ฉะนั้นจงระลึกถึงเราตลอดเวลา และมุ่งอยู่กับสมรภูมิการงานตลอดไป จงวางจิตและความเข้าใจของเจ้าไว้ที่เรา เช่นนั้นแล้วเจ้าจะมาสู่เราอย่างมิพักสงสัย (BG VIII : 7)


อรชุน:

ที่สุดของการทำงานทั้งมวล คือการสังหารตัวตนของเรา เพราะตัวตนอัตตานี้เป็นเหตุให้เกิดการติดข้อง ยึดมั่นถือมั่น ก่อให้เกิดการปรุงแต่งตามมา และก่อเกิดการเวียนว่ายตายเกิด แต่ตัวตนแท้ของเราไม่ใช่เช่นนั้น เราเองไม่เคยมีโอกาสเห็นอภิญญาอันแท้จริงแห่งจิตเดิมแท้ของเราเลย พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ท่านก็สอนในเรื่องการทำงานโดยไม่มี ไม่ว่าจะเป็นการยึดติดในตัวตน หรือติดบุหรี่ ก็ไม่แตกต่างกัน เมื่อได้รับทราบว่าการสูบบุหรี่เป็นอันตราย ไม่ดีต่อสุขภาพ ก็ยังเชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง หรือแม้เริ่มเชื่อแต่ก็ยังแพ้ใจตัวเอง บอกครั้งแล้วครั้งเล่า ปีแล้วปีเล่า ก็ยังไม่แจ้งกระจ่างพอในการรู้เท่าทันงผลร้ายของบุหรี่ จนเริ่มป่วย หรือบางคนเพียงมีความรู้เข้าไปซ้ำ ๆ ก็จะเริ่มเห็นจริงและดึงตัวเองออกมาจากการติดบุหรี่ได้ บุหรี่นั้นเป็นเพียงตัวอย่างหนึ่ง แต่พวกเราก็มีความติดข้องในตัวตน โดยไม่รู้ตัว ติดในตัวตนที่ไม่มีจริง ตัวเรามีจริง มีจิตเดิมแท้ มีร่างกายจากธาตุดินน้ำลมไฟ การทำงานของร่างกายเราเชื่อมกับจิตวิญญาณ ประสานกันเป็นพลังงาน ฮอร์โมน เกิดการเชื่อต่อ และหากติดข้องในสิ่งใด ด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ ไม่ว่าจะเป็นการติดยึดในความสบาย หรือไม่สบาย ทั้งในยีน ฮอร์โมน ฯลฯ ซึ่งเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก ยากที่จะแยกแยะพิจารณาการติดข้องดังกล่าวนี้ การพิจารณาปรมัตถ์ในโลกบัญญัติต้องอาศัยปัญญาให้เฉียบคมมากขึ้น สร้างเหตุปัจจัยไปเรื่อย ๆ จนจิตใต้สำนึกค่อย ๆ ทำงานจากการฝึกฝนบ่อย ๆ ก็เพื่อการละตัวตนนั่นเอง

ตัวตนที่เรายึดติดนั้นไม่มีอยู่จริง ความเป็น ‘ฉัน’ ในวันนี้ พรุ่งนี้ก็หายไป มีอยู่เพียงแค่ทุกวินาทีเท่านั้นเอง แต่ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้เราไปทุ่มเทชีวิตอันมีค่าเพียงอยู่เพื่อตัวตนอันไม่มีอยู่จริงนั้น ในด้านหนึ่งเราชาวพุทธอาจเป็นเรื่องยากที่จะเข้าใจว่า อาศัยรูปบัญญัติ ดูรูปถ่าย ดูรูปปั้น แล้วระลึกว่านั่นคือพระเจ้า เราจะคิดเองได้อย่างไรว่าที่คิดไปนี้ถูกต้องแล้ว เพียงแค่นึกระลึกถึงท่านจะบรรลุธรรม แก้ไขปัญหาได้ทุกอย่าง เหมือนกับที่เราจะเชื่อได้อย่างไร ว่าทุกสิ่งเป็นพลังงานที่เชื่อมโยงกัน อย่างตัวเรา หากบอกให้นึกถึงพระกฤษณะ เราคงจะคิดว่าจะเลือกรูปไหนดี หน้าแบบไหนดี ในวัยไหนดี จนกระทั่งพี่แก้มแหม่มได้จอกับโฉลกนี้ จึงเข้าใจ

He, who sees Me everywhere and sees all in Me; I am not lost to him, nor is he lost to Me.

แต่เมื่อพี่แก้มแหม่มศึกษาแล้วเข้าใจก็พบว่า รูปบัญญัตินี้ก็เหมือนอุปกรณ์มือถือที่คอยเชื่อมโยงกับสัญญาณอินเตอร์เน็ตที่ทรงพลังแต่ประสาทรับสัมผัสทั้งห้าของมนุษย์ รับรู้ไม่ได้ มองไม่เห็น เปรียบไปแล้วร่างกายเราเหมือนกับรถเบนซ์ วอลโว่ คอมพิวเตอร์คอม ที่ข้างในมีสิ่งที่ขับเคลื่อนได้ มีบางสิ่งภายในที่ทำให้เกิดการทำงานได้ เราจะเรียกว่าอะไรก็ตามแต่ ในร่างกายเราก็จิตเดิมแท้ (Consciousness) เป็นส่วนหนึ่งของพลังสูงสุดที่อยู่เบื้องหลังการมีอยู่และความเป็นอยู่ของเรา อันเป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่อยู่เบื้องหลังการมีอยู่ และเป็นอยู่ของจักรวาล พระกฤษณะไม่ได้ระบุว่า เมื่อให้บูชาท่านให้นึกระลึกว่าท่านจะเป็นใคร หน้าตาแบบไหน แต่ให้เห็นท่านอยู่ในทุกตัวคน พระเจ้าอยู่ในทุกชีวิต อยู่ในทุกหนทุกแห่ง ถ้าเราเห็นก็เท่ากับเรามีท่านอยู่ในหัวใจ หากเราเห็น ท่านจะพาเราออกจากมหาสมุทรแห่งมฤตยู

The Yogi who, established in oneness, worships Me abiding
In all beings, lives in Me, he may be active.

บทนี้หมายถึง โยคี (ผู้ปฏิบัติธรรม) ที่มีความเป็นหนึ่งเดียว เคารพบูชาท่านซึ่งสถิตอยู่ในทุกชีวิต ทุกสรรพสิ่ง ไม้่ว่าเราจะทำอะไร อยู่ที่ไหน พลังนั้นอยู่กับเราตลอดเวลา แค่ใจเราเปิด พระองค์ก็อยู่กับเราทุกที่ ทุกหนแห่ง เมื่อใจเราเปิด เราจะสัมผัสกับจิตสูงสุดมากขึ้น ๆ

การสั่งสมข้อมูลที่ดี เพื่อเอื้อต่อความเข้าใจ และเข้าถึงว่าพระกฤษณะอยู่ภายในเรา ทำได้โดยการสร้างเหตุปัจจัยด้วยการสวดภควัตคีตา และมีความรู้ที่ถูกต้อง การติดข้องใด ๆ เดิม ๆ ก็จะค่อย ๆ จางคลายหายไป ใจที่รู้ไม่สามารถสร้างเอาได้ กำหนดได้ เราทำได้เพียงสร้าง สะสมเหตุปัจจัยเท่านั้น ถ้าเราสะสมอกุศลมาก ก็จะดึงเราลงที่ต่ำ ธรรมะคือสิ่งที่เมื่อเรากระทำแล้วจะพาเราหลุดพ้น บรรลุธรรม แต่สิ่งใดที่ทำแล้วจิตหยาบมากขึ้น ๆ จิตตกต่ำลง นำสู่อกุศล สิ่งนั้นไม่ใช่ธรรม ยกตัวอย่างคำสอนข้อหนึ่งของภควัตคีตา เช่น การทำอะไรโดยไม่หวังผลตอบแทน สละตัวตน ก็จะเบาขึ้นจากตัวตนที่เราเคยเข้าใจผิดมาแต่ไหนแต่ไร
Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้